การเข้าถึงการบำบัด (ในประเทศตะวันตก) ของ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม

ผู้บำบัด

โปรแกรม CBT ปกติจะเป็นการพบกันเป็นส่วนตัวระหว่างคนไข้กับนักบำบัด โดยพบกัน 6-18 ครั้งแต่ละครั้งประมาณ 1 ชม. นัดพบกันโดยเว้นระยะ 1-3 อาทิตย์หลังจากที่สำเร็จโปรแกรมนี้แล้ว อาจจะมีการติดตามอีกหลายครั้ง เช่น ที่ 1 เดือนและ 3 เดือน[124]CBT ยังมีผลสำเร็จด้วยถ้าทั้งคนไข้และนักบำบัดสามารถพิมพ์ข้อความสดให้แก่กันและกันได้โดยใช้คอมพิวเตอร์[125][126]

การบำบัดที่ได้ผลขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ (Therapeutic relationship) ระหว่างผู้บำบัดและคนไข้[2][127]เพราะว่าไม่เหมือนกับจิตบำบัดแบบอื่น ๆ คนไข้ต้องมีส่วนร่วมอย่างยิ่ง[128]ยกตัวอย่างเช่น อาจจะให้คนไข้วิตกกังวลคุยกันคนแปลกหน้าเป็นการบ้าน แต่ถ้านั่นยากเกินไป อาจจะต้องทำงานที่ง่ายกว่านั้นก่อน[128]ผู้บำบัดต้องยืดหยุ่นได้และสนใจฟังคนไข้แทนที่จะทำการเป็นคนมีอำนาจ[128]

การรักษาผ่านคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต

องค์กรของรัฐที่ออกแนวทางในการรักษาสุขภาพ (National Institute for Health and Clinical Excellence ตัวย่อ NICE) แห่งสหราชอาณาจักรอธิบาย "การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมโดยคอมพิวเตอร์" (Computerized cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CCBT) ว่าเป็น "คำที่หมายถึงการให้ CBT ผ่านโปรแกรมเชิงโต้ตอบผ่านคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต หรือระบบโต้ตอบผ่านเสียง (interactive voice response system)"[129]แทนที่จะพบกับผู้บำบัดตัวต่อตัวหรือรู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า internet-delivered cognitive behavioral therapy (ICBT)[130]CCBT มีโอกาสช่วยให้คนไข้ได้รับการบำบัดที่อ้างอิงหลักฐาน และแก้ปัญหาการรักษาที่แพงมากหรือไม่มีถ้าต้องใช้ผู้บำบัดจริง ๆ[131]

งานวิเคราะห์อภิมานหลายงานพบว่า CCBT คุ้มราคาและบ่อยครั้งถูกกว่าการรักษาตามปกติ[132][133]รวมทั้งโรควิตกกังวล[134]มีงานหลายงานที่พบว่าบุคคลที่มีความวิตกกังวลทางสังคม (social anxiety) และความซึมเศร้าดีขึ้นเมื่อบำบัดโดย CBT แบบออนไลน์[135]งานทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับผลงานวิจัยใน CCBT ในการบำบัดโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder ตัวย่อ OCD) ในเด็กพบว่า โปรแกรมมีอนาคตที่สดใสในการบำบัด OCD ในเด็กและวัยรุ่น[136]CCBT ยังอาจใช้บำบัดความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในกลุ่มประชากรต่าง ๆ ที่ไม่ใช่คนรักต่างเพศ ที่อาจจะหลีกเลี่ยงการมาพบตัวต่อตัวเพราะกลัวมลทินทางสังคมแต่ว่า โปรแกรม CCBT ปัจจุบันยังไม่ได้จัดให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้[137]

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการใช้ CCBT ก็คือมีคนสมัครใช้น้อยและทำจนเสร็จน้อย ๆ ทั้ง ๆ ที่บอกว่ามีให้ใช้และอธิบายให้ฟังเป็นอย่างดี[138][139]งานวิจัยบางงานพบว่า อัตราการทำจนเสร็จและประสิทธิผลในการรักษาเมื่อใช้ CCBT โดยมีบุคคลที่คอยช่วยสนับสนุน และไม่ใช่แต่สนับสนุนผู้ทำการบำบัดเท่านั้น สูงกว่าเมื่อให้คนไข้ใช้แต่ CCBT ด้วยตนเอง[132][140]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2006 ในสหราชอาณาจักร NICE แนะนำให้มี CCBT ใช้ภายในระบบการดูแลสุขภาพของรัฐบาลทั่วประเทศอังกฤษและประเทศเวลส์ สำหรับคนไข้ที่มีความเศร้าซึมแบบอ่อนจนถึงปานกลาง แทนที่จะเริ่มใช้ยาแก้ความซึมเศร้าทันที[129]และยังมีองค์กรสุขภาพอื่น ๆ ในประเทศอังกฤษที่มี CCBT ให้ใช้ด้วย[141]แต่ว่า แนวทางของ NICE ยอมรับว่า น่าจะมีโปแกรม CBT หลายโปรแกรมที่ช่วยเหลือคนไข้ได้ จึงไม่มีการรับรองโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งโดยเฉพาะในปัจจุบัน[142]

ส่วนงานวิจัยที่เริ่มเปิดใหม่ เป็นเรื่องการใช้ CCBT ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (AI)คือมีการเสนอให้ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อสร้าง CCBT ที่ทำเสมือนการบำบัดที่ทำตัวต่อตัวซึ่งอาจทำได้ใน CBT สำหรับโรคบางอย่างโดยเฉพาะ และใช้ความรู้ที่กว้างขวางครอบคลุมในเรื่องนั้น[143]ปัญหาที่ได้พยายามแล้วก็คือความวิตกกังวลทางสังคม (social anxiety) และบุคคลผู้ติดอ่าง[144]

การอ่านหาข้อมูลเอง

งานวิจัยบางงานพบว่า การให้คนไข้อ่านวิธีการทาง CBT เองมีประสิทธิผล[145][146][147]แต่ว่าก็มีงานหนึ่งที่พบผลลบในคนไข้ที่มักจะคิดวนเวียน (ruminate)[148]และงานวิเคราะห์อภิมานหนึ่งพบว่า ประโยชน์จะมีระดับสำคัญก็ต่อเมื่อมีคนช่วยแนะนำ (เช่น โดยผู้พยาบาลรักษา)[149]

การสอนเป็นกลุ่ม

การให้คนไข้เข้าคอร์สทำเป็นกลุ่มพบว่ามีประสิทธิผล[150]แต่ว่างานวิเคราะห์อภิมานที่ทบทวนการรักษา OCD ในเด็กแบบอ้างอิงหลักฐาน แสดงว่า CBT แบบบุคคลมีผลกว่าแบบกลุ่ม[136]

ใกล้เคียง

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม การบำบัดด้วยออกซิเจนแบบผสมอากาศอัตราการไหลสูง การบำบัดตาเหล่ด้วยชีวพิษโบทูลินัม การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ การบําบัดโดยพืช การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ การบำรุงรักษา การบำรุงความงามของสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม http://www.ehub.anu.edu.au/assist/about/research.p... http://www.comorbidity.edu.au/cre-publications?fie... http://ptsd.about.com/od/glossary/g/invivo.htm http://www.babcp.com/ http://www.biomedcentral.com/1471-244X/14/109 http://www.bmj.com/content/344/bmj.e2598 http://www.cogbtherapy.com/ http://www.effectivechildtherapy.com/ http://www.goodreads.com/book/show/20553738-this-b... http://www.healio.com/psychiatry/journals/psycann/...